วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

ตุ๊กตาไทย





ตุ๊กตา เป็นของเล่นสำหรับเด็ก ซึ่งอาจเป็นรูปร่างของ คน สัตว์ หรือ ตัวละครในนิยายที่ไม่มีอยู่จริง มักทำจากผ้าหรือพลาสติก


ประวัติความเป็นมาของตุ๊กตา



 ตุ๊กตาเป็นของเล่นที่เด็กชอบมากมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตารูปคนหรือรูปสัตว์ตุ๊กตาที่นับว่าเก่าแก่ที่สุดเป็นตุ๊กตารูปคน เป็นศีรษะผู้หญิง ไว้ผมแสกกลาง (ลำตัวสูญหายไป) ทำด้วยดินเผาหรือปูนปั้น ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-14 พบท ี่เหมืองอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี อีกแบบหนึ่งที่พบเห็นเป็นศีรษะผู้หญิงมุ่นผมสูงกลางกระหม่อม มีเกี้ยวรัดผมตุ๊กตาที่น่าสนใจเป็นพิเศษได้แก่ ตุ๊กตารูปคนเลี้ยงสัตว์ ทำด้วยดินเผาสีแดง พบในบริเวณขุดแต่งเจดีย์หมายเลข 13 ซึ่งเป็นเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยม สันนิษฐาน ว่าอาจ เป็นตุ๊กตาสำหรับเด็กเล่นหรืออาจจะเป็นเครื่องรางของขลังตามคติชาวอินเดีย






ตามประวัติความเป็นมาของตุ๊กตา เดิมทีเดียวคงจะไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับให้เด็กเล่นแต่มุ่งหมายจะใช้ในพิธีฝังศพบ้าง หรือบรรจุในสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ต่อมามีคนไปขุดพบจึงนำรูปปั้นที่อาจจะมีทั้งคนและสัตว์กลั บบ้านเพื่อฝากเด็ก เมื่อเด็กชอบ ผู้ใ หญ่จึงทำขึ้นเพื่อให้เด็กได้เล่นโดยตรงจึงเกิดมีตุ๊กตาขึ้น ตุ๊กตาสมัยก่อน ๆ มักทำง่าน ๆ รูป แบบไม่ซับซ้อน โดยใช้วัสดุใกล้ ตัว เช่น ดิน ผ้า ไม้ รังไหม ฯลฯ ไม่ต้องซื้อหาเล่น เสียแล้วก็ทำใหม่ได้ นอกจากจะปั้นตุ๊กตาเป็นรูปคนแล้วยังมีตุ๊กตาปั้นเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ที่เห็นในชีวิตประจำวันด้วย เช่น วัว ควาย หมู สุนัข เป็ด ไก่ นก ฯลฯ


ประเภทของตุ๊กตา

ตุ๊กตาไทยมีหลายประเภท จำแนกตามจุดมุ่งหมายของการใช้ดังนี้

         1. ตุ๊กตาที่ใช้ในพิธีกรรม ตุ๊กตาประเภทนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรม ต่าง ๆ เช่น ตุ๊กตาศาลพระภูมิ เป็นตุ๊กตาคนรับใ ช้ชายหญิง และช้างม้าตุ๊กตาชะนีสีเหลืองใช้ในพิธีทอดผ้าป่า เป็นต้น
         2. ตุ๊กตาสำหรับเด็กเล่น ตุ๊กตาประเภทนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้เด็กเล่นมักทำอย่างง่ายๆ จากวัสดุที่หาได้ใกล้ๆ ตัว 
         3. ตุ๊กตาฝีมือ
ตุ๊กตาประเภทนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแสดงฝีมือทางศิลปะให้เด็กและผู้ชมได้ชมความงามอันประณีตละเอียดอ่ อน ผู้ประดิษฐ์ตุ๊กตาประเภทนี้นับว่าเป็นศิลปินที่ควรแก่การยกย่อง ตุ๊กตาฝีมือที่มีชื่อเสียงและมีคุณค่าทาศิลปวัฒนธรรม มีหลายลักษณะด้วยกัน ดังนี้ 
  • ตุ๊กตาชาววัง ศิลปินผู้ประดิษฐ์ คือ นางเฉ่ง สาครวาสี (สกุลเดิม สุวรรณโน)
  • ตุ๊กตาบางกอดอลล์ ศิลปินผู้ประดิษฐ์คือคุณหญิงทองก้อน จันทวิมล เป็นตุ๊กตาตัวโขนตัวละครจากวรรณคดีและละครรำต่างๆ





4. ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน ตุ๊กตาประเภทนี้ประดิษฐ์ขึ้นง่ายๆ ด้วยฝีมือชาวบ้าน
  • ตุ๊กตาแก้บน เป็นตุ๊กตาที่ประดิษฐ์ขึ้นหรือซื้อหามา "แก้บน" หลังจากการบนบานศาลกล่าว
  • ตุ๊กตากุมาร ส่วนมากจะเป็นตุ๊กตาเครื่องปั้นดินเผา ทำเป็นเด็กผู้ชายไว้จุก
  • ตุ๊กตานางกวัก ประดิษฐ์เป็นหญิงสาว แต่งตัวสวยงามสวมกระบังหน้า ท้าวแขนซ้ายและยกมือขวากวักไปข้างหน้า
  5. ตุ๊กตาอื่นๆ


ประโยชน์ของตุ๊กตา





ตุ๊กตาให้ทั้งความอบอุ่น ยินดี และความสุขทางใจแก่เด็กและแก่ผู้ใหญ่ดังที่โรสแมรี วอร์เนอร์ และอิลารี ฟิลลิปส์ เขียนไว้ในวารสาร "สวัสดี" ของบริษัทการบินไทย จำกัด ฉบับเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ค.ศ.1978 ว่า "ตุ๊กตาเป็นสิ่งสากล ให้ความสุขใจ เป็นเพื่อ เป็ นความพึงพอใจและภาคภูมิใจของคนจำนวนหลายพันคนทั่วทุกมุมโลกไม่ว่าผู้เยาว์หรือผู้ใหญ่ล้วนแต่รักตุ๊กตา ผู้สะสมตุ๊กตามีตั้งแต่สมเด็จพระราชินีจนถึงคนสามัญ จนถึงผู้รักและซาบซึ้งในความน่ารักของตุ๊กตาน้อย ๆ หลายเผ่าพันธุ์ และ จนถึงเด็กหญิงน้อยๆ ที่แสนจะตื่นเต้นเมื่อ โอบกอดตุ๊กตาสุดที่รักอย่างแสนสุขโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ การแต่งกายและราคาค่างวดของมัน"





ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ตุ๊กตาใช้เป็นอุปกรณ์การศึกษาวิชาต่าง ๆ ได้หลายวิชาไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์การศึกษาวิช าต่างๆ ได้หลายวิชา ไม่ว่าจะเป็นวิชาสังคมศึกษา วรรณคดีไทย นาฎศิลป์ไทย เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้ประกอบการจัดนิทรรศการในโอกาสต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเมืองไทย เพื่อเพิ่มความรู้และความสุขใจให้แก่ผู้สนใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การสะสมตุ๊กตาไว้ชม นับว่าเป็นงานอดิเรกที่ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน ของที่ระลึกที่จัดถวายองค์พระประมุขของประเทศต่าง ๆ ราชอาคันตุกะในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือแขกของรัฐบาลมัก จะเป็นตุ๊กตาไทยของบางกอกดอลล์ ซึ่งเป็นตุ๊กตาไทยที่ประดิษฐ์อย่างประณีตบรรจงตุ๊กตาเป็นสื่อสำคัญ ในการเผยแพร่เกียรติภูมิและวัฒนธรรมไ ทยไปสู่ต่างแดนเป็นทูตที่ช่วยเสริมสร้างมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลและระหว่างประเทศ
         ตุ๊กตาไทยนั้นมีเอกลักษณ์ไทยสูงมาก ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ควรทะนุถนอมไว้ตอลดไป และไม่ว่าตุ๊กตาไ ทยจะมีวิวัฒนาการไปตามกาลเวลาอย่างไร เราก็ควรจะรักษาเอกลักษณ์ไทยในตุ๊กตาของเราไว้ให้ได้